Elsa - Disney's Frozen

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ถ่ายภาพอาหารให้ดูน่าอร่อย

           สีสันและความสว่างคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ภาพถ่ายอาหารและของหวานดูน่ารับประทาน ให้ปรับสีด้วยสมดุลสีขาว สมดุลสีขาวคือฟังก์ชันสำหรับการปรับมาตรฐานของ "สีขาว" แต่ยังสามารถใช้เป็นฟิลเตอร์สีในกล้องดิจิตอลได้อีกด้วย ขั้นแรก ให้ถ่ายภาพโดยใช้สมดุลสีขาวอัตโนมัติ [AWB] เพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ จากนั้นลองใช้ [แสงแดดกลางวัน] หรือ [แสงแดดมีเมฆ] หากจำเป็น หากต้องการหาสีเพิ่มเติม ฟังก์ชันการปรับละเอียดสำหรับสมดุลสีขาวก็ได้ผลดี  โดยทั่วไปแล้ว อาหารจะดูน่ารับประทานยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายด้วยสีโทนอุ่นเล็กน้อย





ที่มา : http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips


ถ่ายภาพอารมณ์ท้องฟ้า 

     ท้องฟ้าแสดงอารมณ์ที่หลากหลายทุกวัน ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการตกแต่งภาพถ่ายท้องฟ้าให้กลายเป็น "งานศิลปะ" ในแบบของคุณ อันดับแรก ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด P จากนั้นปรับแต่งตามแบบที่คุณต้องการ









ที่มา : http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips




การพิจารณาองค์ประกอบ

     การเปลี่ยนองค์ประกอบจะสร้างบรรยากาศของภาพที่แตกต่างออกไปอย่างมาก แม้ว่าคุณจะถ่ายวัตถุเดียวกัน ในการถ่ายภาพแบบสบายๆ เรามักจะจัดองค์ประกอบของภาพโดยเอาตัวบุคคลไว้ตรงกลางเฟรม อย่างไรก็ตาม เมื่อถ่ายภาพบุคคล ให้ลองใช้ "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) ในการจัดองค์ประกอบ
    ในการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" เฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 x แนวตั้ง 3) และวัตถุหลักจะถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดของเส้นแบ่ง สำหรับภาพบุคคล ให้วางกึ่งกลางของใบหน้าหรือตาไว้ที่จุดตัด "Rule of Thirds" เป็นพื้นฐานของภาพถ่ายที่ได้สัดส่วน ยึดกฎข้อนี้ไว้ คุณจะสามารถถ่ายภาพดีๆ ได้มากมายโดยอัตโนมัติ





ที่มา : http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips


วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559


การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง

          การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง (Stop action) จะถ่ายเพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง โดยใช้ตั้งแต่ 1/250 วินาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี ปรับโฟกัส และวัดแสงไว้ล่วงหน้า อาศัยการกะระยะ และการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงาม และมีคุณค่า





ที่มา : https://th.wikibooks.org/wiki/เทคนิคการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพเพื่อเน้นระยะชัด

    การถ่ายภาพเพื่อเน้นระยะชัด(Depth of field) ผู้ถ่ายภาพควรต้องทำความเข้าใจในการกำหนดค่าของรูรับแสงของเลนส์ เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ ค่าของรูรับแสง จะมีตั้งแต่กว้างสุด คือ 1.2, 4, 5.6, 8, 11, 16 และ 22 ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงยิ่งกว้าง ระยะชัด ของภาพจะสั้นลง หรือที่เรียกว่า ชัดตื้น ค่าของตัวเลขยิ่งมาก รูรับแสงจะแคบลง ยิ่งแคบมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพ เกิด ระยะชัดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น



ที่มา : https://th.wikibooks.org/wiki/เทคนิคการถ่ายภาพ


การถ่ายภาพย้อนแสง

    การถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouette) จะไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ควรถ่ายในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น แสงแดดเริ่มอ่อน อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรง ๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า เฉียง 45 องศา กับดวงอาทิตย์ และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย การถ่ายภาพประเภทนี้ต้องระวังเรื่องฉากหน้าและฉากหลังด้วย เพราะจะทำให้รบกวนภาพทำให้ภาพดูรกตา



ที่มา : https://th.wikibooks.org/wiki/เทคนิคการถ่ายภาพ





การถ่ายภาพภูมิทัศน์

    การถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape) นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยปกติใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน การถ่ายภาพลักษณะนี้ ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด ควรคำนึงถึง ฉากหน้า และฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ (ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ) หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์ เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ






ที่มา : https://th.wikibooks.org/wiki/เทคนิคการถ่ายภาพ





การถ่ายภาพกลางคืน

    เทคนิคและการถ่ายภาพตอนกลางคืน การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดูสวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการสั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัดควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับกล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISO ไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย


    การถ่ายภาพตอนกลางคืนวัตถุที่ถูกถ่ายก็คือต้นกำเนิดแสงตามท้องถนน เช่นไฟของรถยนต์ ไฟข้างถนน ไฟจากหน้าต่างของตึกรามบ้านช่องจึงไม่มีการจัดแสงเหมือนตอนถ่ายภาพตอนกลางวัน แต่ก็ควรจัดองค์ ประกอบให้ตำแหน่งดวงไฟต่าง ๆ อยู่ในกรอบของภาพอย่างน่าดู การตั้งหน้ากล้องในการถ่ายภาพตอนกลางคืน ไม่เหมือนตอนกลางวันที่มีค่าถูกต้องเพียงค่าเดียว ค่าการฉายแสงเมื่อถ่ายภาพตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะแสดงอะไรในภาพถ่าย


ที่มา : http://photohow2.blogspot.com/2009/05/night-shot.html


การถ่ายภาพมาโคร

   การถ่ายภาพมาโคร เป็นการถ่ายภาพเพียงไม่กี่แบบ ที่ใช้หลักการพื้นฐานการถ่ายภาพที่แตกต่างออกไปจากการถ่ายภาพปกติ เลนส์ต้องออกแบบมาพิเศษ ความเข้าใจเรื่องระยะชัดแตกต่างออกไป และยังมีอัตราการเสียแสงอีก แต่มันไม่ได้ยากและน่าเบื่อขนาดนั้น กลับกันคุณอาจหลงรักมันเหมือนกับนักถ่ายภาพอีกหลายคน ที่ติดใจกับเสน่ห์ของโลกการถ่ายภาพมาโคร


  งานถ่ายภาพมาโครจัดเป็นการถ่ายภาพเฉพาะทาง มีหลักคิดที่ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพและการนำเสนอไม่มากนัก ประการแรกคือ ต้องการถ่ายภาพเพื่อแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่มีขนาดเล็ก คมชัดและขยายใหญ่ขึ้น ด้วยมุมมองแบบ Magnification Eye ด้วยความแตกต่างของการมองที่ผิดแผกไปจากปกติ ความแปลกตาที่เราไม่ได้เห็นวัตถุ หรือภาพเหล่านี้ในระยะใกล้กำลังขยายมาก ภาพจึงดูน่าสนใจ


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/50258

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559


เทคนิคการถ่ายภาพ/การจัดองค์ประกอบ

        การจัดองค์ประกอบจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญหลักและสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ เพราะองค์ประกอบ สามารถดึงดูดความสนใจ สามารถชี้แจงบอกเรื่องราวในภาพและเน้นความคัญในสิ่งที่เราสื่อออกมา เพราะฉะนั้น การจัดองค์ประกอบได้แบบถูกต้องและลงตัวนั่นคือ การสื่อความหมายโดยที่แทบจะไม่ต้องบรรยายเลยก็ว่าได้ การจัดองค์ประกอบ ต้องมีการแบ่งความสมดุลในภาพเว้นระยะไม่ให้เกิดความอึดอัดเวลามองภาพเช่น สายตา การชี้ เหมือนกับการจ้องมองของสัตว์ หรือ อาการหวาดกลัว หลบหลีก ที่จะฟ้องให้มองเห็นถึงความน่ากลัว





ที่มา : https://th.wikibooks.org/wiki/เทคนิคการถ่ายภาพ/การจัดองค์ประกอบ